เนื่องจากในรอบปี 2558 ที่ผ่านมาจำนวนโคเนื้อในประเทศมีจำนวนลดลงอย่างมาก และมีการจำหน่ายโคมีชีวิตไปยังต่างประเทศดังเช่นเดิม ทำให้ราคาโคก่อนขุนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ประกอบกับราคาอาหารสัตว์ และค่าดำเนินการต่างๆเพิ่มขึ้น จึงเป็นเหตุทำให้สมาชิกผู้ขุนโค
ชะลอการขุนโค หรืออีกนัยหนึ่ง จำนวนเงินลงทุนของสมาชิกที่เท่าเดิมแต่สามารถผลิตโคขุน
ได้น้อยลงกว่าเดิม นอกจากนี้การลดภาษีนำเข้าเนื้อโคจากประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ภายใต้กรอบการค้าเสรีทำให้เนื้อโคบางส่วนมีราคาถูกลง สหกรณ์ไม่สามารถจำหน่ายเนื้อโค
บางชิ้นส่วนได้ในราคาที่เหมาะสม นอกจากนี้สหกรณ์ไม่สามารถปรับราคาจำหน่ายเนื้อโคขุนขึ้นได้ เนื่องจากราคาเนื้อนำเข้าจากต่างประเทศมีราคาถูกลง
คณะกรรมการดำเนินการและฝ่ายจัดการจึงได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายโคเข้าแปรสภาพใน
ปี 2559 จำนวน 1,800 ตัว โดยวางแผนการผลิต และการตลาด ดังนี้
การผลิต สหกรณ์โคเนื้อฯจะต้องส่งเสริม/ สนับสนุน หรือให้การช่วยเหลือแก่สมาชิกผู้พัฒนาพันธุ์
และสมาชิกผู้ขุนโค ให้ร่วมกันผลิตโคต้นน้ำ กลางน้ำ และโคปลายน้ำ ดังนี้
ก) โคต้นน้ำ สหกรณ์โคเนื้อฯจะได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน,
สมาคมโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน รวมถึงเครือข่ายสหกรณ์ผู้ผลิตโคเนื้อการเลี้ยงโคเนื้อต่างๆ ร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตโคพันธุ์กำแพงแสนและโคลูกผสมสายเลือดยุโรป
โดยสหกรณ์โคเนื้อฯให้เงินสนับสนุนการผลิตลูกโค โดยลูกโคเพศผู้เมื่อมาลงทะเบียนเข้าขุนกับสหกรณ์โคเนื้อฯ สมาชิกเจ้าของแม่โค
จะได้รับเงินสนับสนุนตัวละ 3,000 บาท ส่วนโคลูกคอกเพศเมียจะได้รับการสนับสนุนค่าโคลูกคอกเพศเมีย ตัวละ 1,000 บาท (จ่ายเมื่อโคลูกคอกเพศเมียมีอายุครบ 2 ปี) นอกจากนี้สหกรณ์โคเนื้อฯ มีโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อการเลี้ยงโคแม่พันธุ์ให้กับสมาชิก ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ(โครงการโคเนื้อสร้างอาชีพ)
ข) กลางน้ำ สหกรณ์โคเนื้อฯตลาดกลางโคเนื้อ และเครือข่ายสหกรณ์ผู้ผลิตโคเนื้อ จะร่วมมือกันรวบรวมโคจากต้นน้ำหรือกลางน้ำ เพื่อเตรียมโคให้แก่สมาชิกของสหกรณ์โคเนื้อฯ ที่ประสงค์จะนำไปขุนให้แก่สหกรณ์โคเนื้อฯ
หรือนำไปพัฒนาพันธุ์โดยสหกรณ์โคเนื้อฯ ได้รับเงินกู้จากรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 5,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี เพื่อรวบรวมโคต้นน้ำ และโคกลางน้ำ จากสหกรณ์เครือข่ายผู้ผลิตโคเนื้อ
ค) ปลายน้ำ สหกรณ์โคเนื้อฯส่งเสริม/สนับสนุนหรือช่วยเหลือสมาชิกผู้ขุนโค ให้ขุนโคให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านการตลาด รวมถึงความมั่นคงและความยั่งยืนของสหกรณ์โคเนื้อฯ ในปีนี้สหกรณ์โคเนื้อฯยังคงมีเงินสนับสนุนการขุนโคแก่สมาชิกผู้เลี้ยงโคขุน จำนวน 7,000 บาทต่อตัว เช่นเดิม เพื่อชดเชยในกรณีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโคก่อนขุนมีราคาสูงขึ้นหรือต้นทุนอาหารที่สูงขั้น นอกจากนี้ยังมีเงินกู้ระยะสั้นเพื่อการขุนโคของสมาชิก (อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี)
นอกจากนี้ สหกรณ์โคเนื้อฯจะจัดการอบรมความรู้เบื้องต้นให้กับสมาชิกใหม่ การยกระดับมาตรฐานฟาร์มของสมาชิก การตรวจเยี่ยมฟาร์ม และคำปรึกษาแนะนำสมาชิก การลดต้นทุนจากกระบวนการผลิตต่างๆ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคขุน
การตลาด สหกรณ์ต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดแต่งเนื้อโค การขนส่ง การลดต้นทุนการผลิต และการทบทวนราคาจำหน่ายเนื้อโคขุน เพื่อปรับเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน การเพิ่มมูลค่าจากการจำหน่ายเนื้อโคขุน รวมถึงการเพิ่มมูลค่าเนื้อโคขุน โดยนำเนื้อโคขุนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เบอร์เกอร์, ไส้กรอก, Smoked KUBeef เป็นต้น นอกจากนี้สหกรณ์โคเนื้อฯยังคงถือนโยบายจากการจำหน่ายเนื้อโคขุนให้กับผู้บริโภครายย่อยให้มาก โดยจำหน่ายผ่านบูชเชอร์ของสหกรณ์ และการจำหน่ายโดยตรงถึงผู้บริโภค (บริการจัดส่งให้กับผู้บริโภครายย่อย) ในปี 2559 สหกรณ์มีโครงการเปิดร้านจำหน่ายเนื้อโคขุน 1 แห่ง
โครงสร้างสหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด |
ลักษณะการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ |
|
บุคลากร |
•ที่ปรึกษา
•คณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 11 ท่าน
•เจ้าหน้าที่ แบ่งออกเป็น 5 ฝ่าย มีดังนี้
เจ้าหน้าที่สำนักงาน 13 คน
พนักงานฝ่ายผลิต 13 คน
พนักงานฝ่ายขนส่งสินค้า 4 คน
พนักงานฝ่ายส่งเสริมงานฟาร์ม 1 คน
พนักงานสาขา 10 คน
•รวม 41 คน |
|
สมาชิกของสหกรณ์โคเนื้อฯ |
•มีจำนวนทั้งสิ้น 238 คน
•แบ่งออกเป็น
สมาชิกสามัญ 195 คน
สมาชิกสมทบ 43 คน |
|
สถานที่ |
•สถานที่ตั้งสำนักงาน
1 หมู่ 6 ต.กำแพงแสน อ.อำแพงแสน จ.นครปฐม 73140 (คาวบอยแลนด์)
•โรงแปรสภาพ
-สำนักงานวิจัยและพัฒนาผลิตผลจากสัตว์
-บริษัท อิบรอฮิม มีท โปรดักส์
•ห้องเย็น
-แบบผนังประกอบติด จำนวน 5 ห้อง
-แบบตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 2 ตู้ |
|
•ร้านขายเนื้อ จำนวน 7 แห่ง |
สำนักงานใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
บูชเชอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
บูชเชอร์ ตลาด อตก.
บูชเชอร์ ตลาดบองมาร์เช่
บูชเชอร์ รามอินทรา
บูชเชอร์ ปากช่อง
บูชเชอร์ ดิออร์แกนิคฮัท |
•รถห้องเย็น จำนวน 4 คัน
-สี่ล้อเล็ก จำนวน 2 คัน
-รถหกล้อ จำนวน 1 คัน |
|
ผลการดำเนินงาน |
•เงินทุนหมุนเวียน
-ปี 2557 ทุนของสหกรณ์ 25,647,250.59 บาท
รวมหนี้สินและทุนของสหกรณ์ 43,847,998.41 บาท
-ปี 2558 ทุนของสหกรณ์ 23,702,839.44 บาท
รวมหนี้สินและทุนของสหกรณ์ 55,389,191.53 บาท
•ปันผล
-จัดสรรเป็นเงินปันผลตามมูลค่าหุ้นในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ของทุนเรือนหุ้นที่ชำระเต็มจำนวน
•เป้าหมายการผลิต
-ปี 2557 รวบรวมโคได้ 1,231 ตัว
-ปี 2558 รวบรวมโคได้ 1,375 ตัว |
|
แผนการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ในปี พ.ศ. 2559และในอนาคต
- รวบรวมโคก่อนขุนเพื่อจำหน่ายแก่สมาชิกปีละ 150 ตัว
- ผลิตโคขุนคุณภาพปีละ 1,800 ตัว
- โครงการ 1 ตำบล 1 SME จำนวน 20 ล้านบาท สร้าง
-โรงแปรสภาพโคมาตรฐาน
-รวบรวมผลิตผลเกษตร (โคขุน)
- เปิดร้านจำหน่ายเนื้อโคขุน
|
|