|
|
00034 |
สตง. พบพิรุธโครงการจัดซื้อแม่โค จ.ตรัง |
จำนวนผู้ตอบ
1
คน |
|
วันที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11102
สตง.พบพิรุธโครงการจัดซื้อแม่โค จ.ตรัง
ขอ"ปศุสัตว์"สอบประมูลเกินจริงตัวละ2.4หมื่น
ผู้สื่อข่าว "มติชน" รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เผยแพร่ผลการตรวจสอบโครงการพัฒนาการผลิตด้านปศุสัตว์ (การเลี้ยงโคเนื้อ) ของสำนักงานปศุสัตว์ จ.ตรัง ประจำปีงบประมาณ 2549 ที่ประกวดราคาจัดซื้อโคเพศเมียพันธุ์พื้นเมือง หรือลูกผสมพื้นเมือง หรืออุ้มทอง หรือลูกติดแม่ จำนวน 660 ตัว วงเงิน 15,840,000 บาท โดยบริษัท อีเกิ้ลอายด์ จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูลในวงเงิน 15,789,500 บาท โดยมีการส่งมอบเสร็จเรียบร้อยตามสัญญาแล้วนั้น พบว่าราคาประมูลดังกล่าวคิดเป็นราคาแม่โคตกตัวละ 24,000 บาท สูงกว่าราคาซื้อขายแม่โคที่เกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งมอบตกตัวละประมาณ 8,000-9,000 บาทเท่านั้น จึงเห็นว่าเป็นราคาที่ไม่เหมาะสมและสูงกว่าความเป็นจริง ทำให้รัฐเสียหายเป็นเงินกว่า 8,067,500 บาท
สตง.ยังพบข้อสังเกตว่า ในการส่งมอบโคของบริษัท อีเกิ้ลอายด์ ไม่ได้มีการระบุชนิดและประเภทของโค รวมถึงความสูงและน้ำหนัก คณะกรรมการตรวจรับก็ไม่ได้รายงานว่าได้ตรวจรับโคแต่ละประเภทกี่ตัว รวมทั้งหลักฐานการส่งมอบโคให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการก็ไม่ได้ระบุว่า เกษตรกรได้รับ |
|
|
|
A00073 วันที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11102
สตง.พบพิรุธโครงการจัดซื้อแม่โค จ.ตรัง
ขอ"ปศุสัตว์"สอบประมูลเกินจริงตัวละ2.4หมื่น
ผู้สื่อข่าว "มติชน" รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เผยแพร่ผลการตรวจสอบโครงการพัฒนาการผลิตด้านปศุสัตว์ (การเลี้ยงโคเนื้อ) ของสำนักงานปศุสัตว์ จ.ตรัง ประจำปีงบประมาณ 2549 ที่ประกวดราคาจัดซื้อโคเพศเมียพันธุ์พื้นเมือง หรือลูกผสมพื้นเมือง หรืออุ้มทอง หรือลูกติดแม่ จำนวน 660 ตัว วงเงิน 15,840,000 บาท โดยบริษัท อีเกิ้ลอายด์ จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูลในวงเงิน 15,789,500 บาท โดยมีการส่งมอบเสร็จเรียบร้อยตามสัญญาแล้วนั้น พบว่าราคาประมูลดังกล่าวคิดเป็นราคาแม่โคตกตัวละ 24,000 บาท สูงกว่าราคาซื้อขายแม่โคที่เกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งมอบตกตัวละประมาณ 8,000-9,000 บาทเท่านั้น จึงเห็นว่าเป็นราคาที่ไม่เหมาะสมและสูงกว่าความเป็นจริง ทำให้รัฐเสียหายเป็นเงินกว่า 8,067,500 บาท
สตง.ยังพบข้อสังเกตว่า ในการส่งมอบโคของบริษัท อีเกิ้ลอายด์ ไม่ได้มีการระบุชนิดและประเภทของโค รวมถึงความสูงและน้ำหนัก คณะกรรมการตรวจรับก็ไม่ได้รายงานว่าได้ตรวจรับโคแต่ละประเภทกี่ตัว รวมทั้งหลักฐานการส่งมอบโคให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการก็ไม่ได้ระบุว่า เกษตรกรได้รับโคประเภทใด จำนวนกี่ตัว เช่นเดียวกัน และจากการตรวจสอบยังพบว่า แม่โคที่บริษัทส่งมอบให้เกษตรกรนั้นมีลักษณะผอม ไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่จะใช้เป็นแม่พันธุ์ได้ตามที่กำหนดในสัญญา ทำให้เกษตรกรบางรายไม่เข้าร่วมโครงการ อีกทั้งเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ไม่มีความพร้อม ไม่มีคอกสำหรับเลี้ยงโค และยังพบผู้เข้าร่วมโครงการบางรายไม่ได้มีอาชีพเกษตรกร แต่เป็นข้าราชการ ค้าขาย และรับจ้าง
สตง.รายงานว่า หลังส่งมอบแม่โคแล้วพบว่าแม่โคมีจำนวนเหลือเพียง 635 ตัว คลอดลูกโคในรุ่นที่ 2 จำนวน 65 ตัว และกำลังตั้งท้อง 221 ตัว แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะไม่มีรายได้เพิ่มขึ้น จากที่สำนักงานปศุสัตว์ จ.ตรัง กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการนี้ว่าเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 20,000-30,000 บ |
วันที่ 2008-08-02 เวลา 16:19:14 โดย thaibeef
thaibeef@yahoo.com
222.123.32.88
|
|
|
|
|
|
|
|
|